4 เคล็ด (SECRET) สู่ดุลยภาพของผิว...เพื่อผิวที่แข็งแรงสวยงามและอ่อนกว่าวัย

หน้าหลัก » บทความสุขภาพ » Homeostasis » 4 เคล็ด (SECRET) สู่ดุลยภาพของผิว...เพื่อผิวที่แข็งแรงสวยงามและอ่อนกว่าวัย
มาถึงตอนนี้ผู้เขียนต้องขอตั้งสมมติฐานว่าท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลายเข้าใจถึงการคงดุลยภาพ (Homeostasis) กันเป็นอย่างดีแล้วว่ามันเป็นอย่างไร และทำไมเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งเซลล์ของผิวหนังเองด้วยถึงต้องมีการคงดุลยภาพ!!!!!!
 
          ในที่นี้ผู้เขียนจะขอไม่พูดถึงเซลล์ชนิดอื่นว่ามันคงสภาพกันอย่างไรเพราะมัน จะเยิ่นเย้อจนเกินไปขอเอาเฉพาะเซลล์ผิวหนังอย่างเดียวก็พอ
 
          ผิวหนังเป็นอวัยวะที่จัดว่าใหญ่ที่สุดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มันจึงประกอบไปด้วยเซลล์หลากหลายชนิดยกตัวอย่าง เช่น เซลล์หนังกำพร้า (Keratinocyte) เซลล์สร้างสี (Melanocyte) เซลล์ต่อมไขมัน (Sebocyte) เซลล์ fibroblast เซลล์ของเส้นเลือด เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน...มากมายจิปาถะ
 
          เซลล์ทุกชนิดไม่เฉพาะแต่เซลล์ของผิวหนัง จะต้องเจอกับภาวะคุกคามทุกนาทีทุกเวลา จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่สถานการณ์ มันจึงต้องคงดุลยภาพของตัวมันเองไว้ให้ได้ โดยจะต้องเอาชนะภาวะคุมคามเหล่านั้นเพื่อให้มันกลับไปสู่จุดที่มันสมบูรณ์ และแข็งแรงที่สุด สามารถที่จะทำหน้าที่ต่างๆ ได้เต็มร้อย ถ้าเซลล์ไม่สามารถเอสชนะภาวะคุกคามได้ มันจะสียสมดุลในที่สุดก็จะเกิดความผิดปกติหรือเป็นโรคตามมา
 
          โดยธรรมชาติแล้วเมื่อเกิดภาวะคุกคามเซลล์ทุกชนิดมันก็จะพยายามคงดุลยภาพด้วย ตัวมันเองอยู่แล้ว เช่น เมื่อผิวหนังโดนรังสี UV รังสี UV เป็นตัวคุกคาม มันจะทำลายผิวให้เสื่อมเสียหาย ผิวหนังเอาชนะภาวะคุกคามรังสี UV โดยเซลล์ที่มีชื่อว่าเซลล์สร้างสี  (Melanocyte) จะสร้าง Pigment ซึ่งมีสีดำเพื่อปกป้องผิวจากรังสี UV เราจึงเห็นว่าคนที่ตากแดดผิวจะดำขึ้น แต่ถ้าภาวะคุกคามนั้นมากจนเกินไป จนเซลล์สู้มันไม่ไหว มันจะเกิดความผิดปกติจนถึงเกิดการตาย กรณีนี้เราก็จะเห็นผิวไหม้ ผิวลอก ซึ่ก็แสดงว่าเซลล์มันแพ้เกิดการตายตามมานั่นเอง 
 
          ขอเสริมความเข้าใจอีกสักนิดนะครับว่า คำว่า "ภาวะคุกคาม" นั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะเพียงอะไรก็ได้ที่ไม่ดีที่มากจนเกินไป แต่มันยังมีความหมายรวมไปถึงการขาดสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อเซลล์ก็ได้ เช่น คนอ้วนก็จะมีการคุกคามโดยเซลล์ได้รับสารอาหารมากจนเกินไป ส่วนคนที่ผอมก็มีภาวะคุกคามโดยมีสารอาหารน้อยเกินไป อย่างนี้เป็นต้น และอีกอย่างที่ขอให้เข้าใจก็คือ ภาวะคุกคามมีได้หลายอย่าง เช่น รังสี  ความร้อน  สารเคมี  และก็มีทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสารเคมีหรือไม่ก็ทำงานโดยผ่านสารเคมี  ซึ่งเราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า CODE หรือ Signal เชื่อว่าคงได้ยินกันชินแล้วนะครับ
 
          มา ถึงตอนนี้ก็ได้เวลา 4 เคล็ด (secret) กันแล้วนะครับว่ามันมีอะไร ใครเข้าใจ 4 เคล็ดนี้ก็จะเข้าใจถึงการรักษาดุลยภาพของเซลล์ผิวหนังครับ
 
          เคล็ดที่ 1 การ Block code
 
          คือการ block code  ที่ไม่ดีต่อเซลล์ของผิวหนังแต่ละเซลล์นั่นเอง ก็อย่างที่ทราบว่า ถ้ามี code ที่ไม่ดี (negative code) มันจะทำอันตรายต่อเซลล์ผิว เราก็จะต้องให้ product และนวัตกรรม ที่ block code ที่ไม่ดีเหล่านี้ อย่างเช่น การทาครีมกันแดด เป็นต้น
 
          เคล็ดที่ 2 Boost code
 
          การ boost code คือการเสริม code ที่ดี (positive code) ให้มันมากขึ้น ซึ่งก็เทียบกับคนที่ขาดสารอาหาร เราจะต้องให้สารอาหารให้มากขึ้น กรณีต้องใช้ product และนวัตกรรม มากระตุ้นให้ code ที่ดีมากขึ้น เช่น AHA home use , AHA treatment , Laser เป็นต้น
 
          เคล็ดที่ 3 ดูแลรักษา
 
          แม้จะไม่เกี่ยวกับการ block หรือ boost code ก็ตาม แต่เคล็ดนี้จะเป็นตัวช่วยให้ code ต่างๆ สามารถทำงานได้ดีขึ้น เคล็ดในกลุ่มนี้ก็ได้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบำรุงผิว เช่น  Moisturizer และ Treatment บำรุงผิว
 
          เคล็ดที่ 4 ป้องกัน
 
          เป็นเคล็ดสุดท้าย เคล็ดนี้เราจะเรียกว่า การป้องกันก็ได้ เพราะมันจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น product บางตัวทาแล้วอาจจะทำให้หน้าแห้ง เราก็ต้องป้องกัน หรือการทำ laser ก็อาจผิวแห้งเราก็ต้องป้องกันอย่างนี้เป็นต้น
 
          เซลล์ ทุกชนิดในผิวหนังจะต้องได้รับการดูแลครบทั้ง 4 เคล็ด จึงจะเกิดผลดีที่สุด แต่ท่านผู้อ่านไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับว่ามันจะยุ่งยากจนทำไม่ได้...ทาง องค์กรของแพนฯ เรานี้ได้มีการตระเตรียมไว้ทั้งหมดแล้ว ว่าเซลล์ผิวหนังไม่ว่าชนิดไหน มีแนวโน้มว่าจะมีภาวะคุกคามอย่างไร แล้วช่วยเซลล์ต่างๆ ได้อย่าง ทุกๆ เซลล์ของท่านผู้อ่านจะได้รับการดูแลครบทั้ง 4 เคล็ด เป็นอย่างดี ถ้าสงสัยอาจจะสอบถามจากพนักงานแพนฯ ได้ทุกคนครับเพราะทุกคนได้ผ่านการอบรมมาแล้ว
 
 
 
ขอขอบคุณ นิตยาสารเพื่อนแพนฉบับที่ Vol.28 No.180 ISSUE 1/2554 
Skin Talk : 10A-11A 

จำนวนเข้าชม 3004 ครั้ง | หมวด Homeostasis | บทความโดย : นพ.พรเลิศ ตรีทศเดช | เมื่อ : 17 กุมภาพันธ์ 2558, 09:52:09

Health Tips Recommend

บทความโดย แพนคลินิก | 1717 views
บทความโดย ศิริรัตน์ | 34 views