บทสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร

หน้าหลัก » บทความสุขภาพ » G-Protein Coupled Receptors » บทสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร

บทสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร ประธานกรรมการบริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ผู้ริเริ่มนำแนวความคิด G Protein ตัวรับ “รหัสสัญญาณ(Code)”...(American Board of Dermatology) มาเป็นแนวทางในการรักษาผิว

รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร ประธานกรรมการบริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ผู้ริเริ่มนำแนวความคิด G Protein ตัวรับ “รหัสสัญญาณ(Code)”...(American Board of Dermatology) มาเป็นแนวทางในการรักษาผิว ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ 63 ฉบับที่ 20020 วันอังคารที่ 13 พย. 2555

คำว่า จี-โปรตีน “G Protein” หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำนี้แต่ถ้าในเชิงของทางการแพทย์เป็นที่รู้จักกันดีว่า คือส่วนสำคัญของการทำงานชั้นลึกในระดับเซลล์ มีผลต่อการรับรหัสสัญญาณ ส่งผลให้เกิดการสื่อสารหรือพูดคุยกันของเซลล์ แล้วทำให้เกิดการรับรู้ เช่น รับรู้ว่ามีรังสียูวี สารเคมี สารพิษ เชื้อร้ายมากระตุ้นที่ผิวหนัง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ จี โปรตีน เป็นตัวรับรหัสสัญญาณของเซลล์ประเภทโปรตีน

ล่าสุดนักวิจัยต่างประเทศค้นคว้าและวิจัยเรื่อง G Protein จนได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ซึ่งคณะกรรมการรางวัลโนเบลอธิบายงานวิจัยดังกล่าวว่า มีประโยชน์ต่อการวิจัยด้านการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยรางวัลนี้จะมอบให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์

รศ.ดร.นพ.พิชิต อธิบายว่า จี โปรตีน เปรียบเสมือนโปรตีนที่อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่รับรหัสสัญญาณที่เซลล์ใช้สื่อสารทั้งภายในเซลล์และระหว่างเซลล์ด้วยกัน เพื่อที่จะส่งรหัสสัญญาณให้เซลล์ต่างๆได้รับรู้

และที่สำคัญ เซลล์ต่างๆ จะมีการเรียนรู้และวิวัฒนาการ จนเซลล์เกิดความสมดุลทางดุลยภาพ(Homeostasis) เพราะถ้าเรารักษาความสมดุลทางดุลยภาพของเซลล์หรือร่างกายเราได้แล้ว ก็จะสามารถหยุดการลุกลามจากสิ่งผิดปกติที่เข้าสู่ร่างกายก่อนที่จะกลายเป็นโรคได้อีกด้วย

ส่วน...ดุลยภาพของร่างกาย เป็นการปรับตัวของเซลล์ เนื้อเยื่อหรืออวัยวะของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ทำงานได้ตามปกติแม้จะมีตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้า โดยการปรับตัวนั้นๆให้กลับสู่สภาวะดุลยภาพเริ่มแรกหรือเริ่มต้นจึงเป็นแนวคิดที่สอดคล้องไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้นให้ดูแลร่างกายตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเป็นโรค

ถ้าถามว่าการปรับดุลยภาพ คือคำตอบความงามได้อย่างไร? รศ.ดร.นพ.พิชิต บอกว่า ในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้น จะต้องมีกระบวนการต่างๆ มากมายเพื่อให้เรามีชีวิตรอด เช่น การหายใจ การย่อยอาหาร การสร้างสารต่างๆ การดูดซึม ซี่งกระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ดุลยภาพ เพื่อให้เราคงอยู่ในสภาวะปกติได้

“หากสูญเสียดุลยภาพไป จะทำให้เกิดโรค หรือภาวะต่างๆตามมาได้”

เมื่อโยงแนวคิดนี้กับระบบของผิวหนังก็เช่นเดียวกัน กระบวนการในระดับเซลล์จะต้องมีการสื่อสารส่งสัญญาณต่อกันโดยจะออกมาในรูปแบบของรหัสคำสั่ง เมื่อไปจับกับจุดรับรหัสคำสั่งแล้วจึงเกิดการตอบสนอง ถ้าเป็นรหัสคำสั่งที่ดี ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผิวหนังหากเป็นรหัสคำสั่งที่ไม่ดีจะทำให้เกิดอาการต่างๆขึ้นมา หรือ “การเสียดุลยภาพ” นั่นเอง

ในเชิงวิชาการการแก้ไขปัญหา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Code block… “การยับยั้งสัญญาณ” ใช้เมื่อยับยั้งกระบวนการแปลงรหัสสัญญาณที่ไม่ดีลดลง หรือไม่สามารถตอบสนองได้

กลุ่มที่ 2 Code booster… “การกระตุ้นสัญญาณ” การปรับดุลยภาพนั้นอาจจะต้องอาศัยการส่งเสริม เพื่อกระตุ้นให้มีรหัสสัญญาณที่ดีมากขึ้น แล้วส่งเสริมการทำงานต่างๆ ให้กลับมาเป็นปกติ

ทั้งหมดเหล่านี้คือแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์ เป็นนวัตกรรมที่คนไทยคิดเองค้นเอง เทียบชั้นได้กับความคิดนักวิจัยระดับโลกรางวัลโนเบล ถือเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติทั้งภาครัฐ...เอกชนให้เดินหน้าปรับทัพรับมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างเต็มรูปแบบ.


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ 63 ฉบับที่ 20020 วันอังคารที่ 13 พย. 2555

 


จำนวนเข้าชม 8654 ครั้ง | หมวด G-Protein Coupled Receptors | บทความโดย : รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร | เมื่อ : 16 กุมภาพันธ์ 2558, 16:11:13

Health Tips Recommend

บทความโดย แพนคลินิก | 1669 views