ฟันธงได้ว่าถ้าจะแก้ฝ้าให้ตรงจุด ต้องหลัก Homeostasis สถานเดียว

หน้าหลัก » บทความสุขภาพ » Homeostasis » ฟันธงได้ว่าถ้าจะแก้ฝ้าให้ตรงจุด ต้องหลัก Homeostasis สถานเดียว
     แม้ว่าในปัจจุบันความรู้ของวงการแพทย์จะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม สำหรับเรื่องฝ้าแล้วก็ยังคลุมเครือ และยังไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่ามันมีกลไกการเกิดขึ้นอย่างไร แต่ก็ยอมรับกันว่ามันน่าจะมีหลายๆ ปัจจัยมารวมกัน ทั้งฮอร์โมน รังสี UV แล้วก็พันธุกรรม และแนวโน้มก็ชี้ไปทางเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมดุลยภาพของเซลล์ ซึ่งก็คือเป็นเรื่อง Homeostasis นั่นเอง
 
     เมื่อไม่นานนี้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งจากประเทศเกาหลี เขาได้ทำการศึกษาพบว่าตำแหน่งที่เป็นฝ้าจะสอดคล้องกับการกระจายตัวของปลายประสาท trigeminal nerve (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5) และเมื่อเปรียบเทียบบริเวณที่เป็นฝ้ากับบริเวณที่ไม่เป็นจะพบว่า บริเวณที่เป็นฝ้าจะมีปริมาณสารเคมีจากปลายประสาทมากกว่าบริเวณที่ไม่เป็น อย่างมีนัยสำคัญจากงานวิจัยชิ้นนี้จึงพอทำให้เราเห็นได้ว่า ฝ้าน่าจะเป็นการที่ปลายประสาทส่งสัญญาน (Code) สื่อสารพูดคุยไปยังเซลล์สร้างสีที่อยู่บริเวณนั้นทำให้การปกป้องภยันตรายให้กับปลายประสาทจากรังสี UV เซลล์สร้างสีเมื่อรับสัญญานจากปลายประสาทก็จะมีการปรับเปลี่ยนตัวในหลายๆ ขั้นตอนจนมีการสร้างไทโรซิเนสเอ็นไซม์ ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสร้างสีได้มากขึ้น เซลล์สร้างสีบริเวณที่ว่านี้ก็ทำการสร้างสีออกมามากมายมหาศาล จนทำให้บริเวณนั้นดำเข้มกว่าบริเวณอื่น จนเกิดเห็นเป็น ฝ้า นั่นเอง (ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีอิทธิพลทางฮอร์โมน และพันธุกรรมเข้ามากำหนดด้วย)
 
     มาถึงตอนนี้ลองทำใจกลางๆ มองดูดีๆ นะครับ การที่เซลล์สร้างสีมันสร้างสีเพิ่มมากขึ้นก็เพราะมันพยายามควบคุมดุลยภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันภยันตรายให้กับปลายประสาทจากรังสี UV นั่นเอง หรือให้ตอบตรงๆ ไม่อ้อมค้อม เซลล์สร้างสีมันก็ทำหน้าที่ของมันดีอยู่แล้ว มันป้องกันรังสี UV ให้กับปลายประสาท แล้วเราจะไปยุ่งกับมันทำไม? คำตอบง่ายๆก็คือ เพราะมันไม่สวยนั่นเอง คนที่เป็นฝ้า บางคนอาจจะเสียความมั่นใจไปเลยก็มี
 
     ในอดีตที่ผ่านๆ มา เราเพ่งเล็งไปที่ปลายเหตุของปัญหา เรามองแค่ว่าสาเหตุที่เกิดฝ้านั้นเป็นเพราะเซลล์สร้างสีบริเวณนั้นสร้างเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสร้างสีมากกว่าเซลล์สร้างสีบริเวณอื่น ที่ผ่านๆ มาเราก็เลยพัฒนาแต่สารที่ใช้ยับยั้ง ไทโรซิเนสเอ็นไซม์ ไล่มาตั้งแต่สารปรอทเรื่อยๆ ผ่านมาหลายตัว จนตัวสุดท้ายที่ยังอยู่ในความนิยมซึ่งก็ใช้มาหลายสิบปีแล้ว ก็คือHydroquinone ซึ่งทุกวันนี้ตามคลินิกที่รักษาฝ้าก็ยังใช้กันอยู่ เพราะมันได้ผลดีและก็ยังไม่มีตัวเลือกอื่นที่ดีกว่านี้
 
     แต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่าถ้าได้เริ่มใช้ Hydroquinoneเมื่อไร จะเกิดผลเสียมากมายตามมาภายหลัง เหตุผลแรกก็คือ สารที่ใช้ยับยั้งไทโรซิเนสเอ็นไซม์นั้น มันจะออกฤทธิ์ทุกๆ ที่ที่มีไทโรซิเนสเอ็นไซม์อยู่คุณผู้อ่านอย่าลืมนะครับเซลล์สร้างสีบริเวณที่ไม่เป็นฝ้าก็มีไทโรซิเนสเอ็นไซม์อยู่เช่นกัน แต่ปริมาณน้อยกว่า เพราะฉะนั้นการทา Hydroquinoneจะต้องทาแม่นห้ามเลอะออกนอกบริเวณที่ไม่เป็นฝ้าเป็นอันขาด ซึ่งก็ไม่มีใครทำได้หรอกครับ ยังไงๆ มันจะเลอะออกมาข้างนอกโดนผิวปกติทำให้เกิดรอยด่างขาวๆ (Halo) รอบๆ ฝ้าขึ้นมา ซึ่งนั่นก็เพราะ
Hydroquinone ไม่มีความสามารถเลือกออกฤทธิ์นั่นเอง หรือจะเรียกว่าไม่มีความสามารถด้าน Selective ก็ได้ เรียกว่าโดนตรงไหนขาวตรงนั้น....
 
     เหตุผลถัดมาก็คือ เนื่องจากไทโรซิเนสเอ็นไซม์ ทำงานโดยเปลี่ยนสารตั้งต้นชนิดหนึ่งให้เป็น เมลานิน การยับยั้งไทโรซิเนสเอ็นไซม์มันก็จะทำให้เมลานิน ไม่สามารถถูกสร้างขึ้นมา สีจึงจางลง แต่คุณผู้อ่านก็อย่าลืมนะครับว่าการยับยั้งนั้น มันจะส่งผลให้ปริมาณสารตั้งต้นคั่งค้างวันดีคืนดีถ้าคุณผู้อ่านเกิดไม่ได้ทายากระทันหัน จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่นลืม หรือ ยาหมด มันก็จะเหมือนทำนบแตก เพราะไม่มีอะไรไปยังยั้งไทโรซิเนสเอ็นไซม์ สารตั้งต้นที่คั่งค้างมากมายจะถูกเปลี่ยนมาทันที จะเกิดสีเข้มแบบสุดๆ อย่างรวดเร็ว เราเรียกว่า Rebound เพราะฉะนั้นแพทย์ที่สั่งยาประเภทนี้จะเน้นว่า “ห้ามหยุดทายา” กระทันหันเป็นอันขาดนอกจากนี้สารตั้งต้นที่คั่งค้างก็อาจเป็นพิษต่อเซลล์สร้างสีจนทำให้เซลล์สร้างสีตายได้ บริเวณนั้นก็จะกลายเป็นสีขาวจั๊วแบบโดนน้ำร้อนลวกเราเรียกว่า Leukoderma
 
     อีกเหตุผลก็คือ สาร Hydroquinone ในตำรับที่ใช้รักษาฝ้าโดยทั่วๆ ไปที่เป็นที่นิยม มักจะผสมสารพวก vitamin A และ steroid เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อทาไปนานๆ ก็จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหน้าขยายตัว จนในที่สุดหน้าก็จะแดงก่ำ เราจึงเห็นกันเสมอๆ ว่า คนที่ทายาพวกนี้จะหน้าแดงมากขึ้นเรื่อยๆ
 
     จากที่กล่าวมาทั้งหมด ท่านผู้อ่านคงเห็นผลเสียของการใช้Hydroquinone กันแล้วนะครับว่า เมื่อใช้แรกๆ ฝ้าจะจางลงอย่างรวดเร็วแต่ก็ใช่จะสวยนะครับเพราะสีผิวมันจะไม่สม่ำเสมอกัน พอใช้ไปสักพักผลเสียจะตามมาเรียกว่าจะหยุดก็ลำบาก เพราะฝ้าจะดำขึ้น จะทาต่อหน้าก็แดง หรือบางทีเซลล์สร้างสีตายขึ้นมาก็จะได้จุดด่างขาวตามมาเช่นกัน
 
     เห็นไหมครับว่าถ้าลองเริ่มใช้แล้วเมื่อไร ก็ต้องยอมรับว่ามันก็จบไม่สวย แต่เหตุที่ตามคลินิกต่างๆ ยังใช้ Hydroquinone กันอยู่ก็เพราะยังไม่มีตัวเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ และถึงแม้จะพัฒนาสารยับยั้งไทโรซิเนสเอ็นไซม์ ตัวใหม่ขึ้นมามันก็คงจะหนีปัญหาเดิมๆ ดังที่กล่าวไปแล้วไม่พ้น เพราะฉะนั้นการออกจากวัฏจักรการรักษาฝ้าที่ใช้สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนสเอ็นไซม์จึงเป็นการดีที่สุด
 
 
เอ...แล้วเราจะออกจากวัฏจักรนี้กันได้อย่างไร?ผู้เขียนขอปรบมือให้กับทางทีมงานวิจัยของแพนฯ อันประกอบ
แพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์ และพยาบาล ซึ่งได้ใช้หลักการควบคุมดุลยภาพของเซลล์ (Homeostasis) มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่นำมาแก้ไขฝ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือด้วยผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ทำให้เรา
สามารถเข้าไปถึงต้นกำเนิดของปัญหา เราสามารถสื่อสารพูดคุยเฉพาะกับเซลล์สร้างสีที่รับคำสั่งให้ผลิตไทโรซิเนสเอ็นไซม์ ในระดับที่มากกว่าปกติให้ค่อยๆ กลับมาผลิตในระดับปกติได้ (โดยไม่ยุ่งกับเซลล์สร้างสีปกติเลย)
เราเรียกว่ามันมี Selective
 
     เพราะฉะนั้น ต่อให้ทาผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ทั่วหน้ามันก็ออกฤทธิ์เฉพาะบริเวณที่เป็นฝ้าเท่านั้น ทำให้การทานั้นทาได้ง่ายมาก ไม่ต้องกังวลว่าทาเลอะนอกบริเวณแล้วจะเกิดผลเสีย และการทาทั่วหน้ามีข้อดีข้อเสียอีกเพราะจะทำให้สีผิวหน้าสม่ำเสมอกันเป็นอย่างดี และเนื่องจากไม่ได้มีผลต่อไทโรซิเนสเอ็นไซม์ เพราะฉะนั้นการหยุดทากระทันหันก็ไม่เกิดRebound ใดๆ ทั้งสิ้น และก็ไม่เกิดกรณีสารตั้งต้นคั่งค้างจนเป็นพิษต่อเซลล์สร้างสี จนทำให้เซลล์สร้างสีตาย จึงไม่เกิด Leukoderma เป็นอันขาดอีกทั้งไม่ก่อให้เกิดเส้นเลือดฝอยขยายตัว ดังนั้นจึงสามารถทาได้ตราบนานเท่านาน เพราะหน้าไม่แดง สามารถใช้ได้ตลอดไป
 
     คุณผู้อ่านคงอยากรู้นะครับว่า ผลิตภัณฑ์นี้ได้ผลจริง และปลอดภัยไหม? ถ้าคุณผู้อ่านเคยอ่านนิตยสารเพื่อนแพนฉบับก่อนหน้านี้มาบ้าง คงจะทราบข่าวกันไปบ้างว่า แพนฯเป็นบริษัทเดียวของไทยที่ได้รับรางวัล อย.Quality Award ซึ่งก็คงเป็นสิ่งที่การันตีได้เป็นอย่างดี
 
มาถึงตอนท้ายนี้ก็คงฟันธงได้เต็มปากว่า ถ้าจะแก้ฝ้าให้ตรงจุดที่สุด ต้องใช้หลัก Homeostasis สถานเดียว
 
 
ขอขอบคุณ นิตยาสารเพื่อนแพนฉบับที่ Vol.28 No.182 ISSUE 3/2554 
Skin Talk : 18A-19A 

จำนวนเข้าชม 3870 ครั้ง | หมวด Homeostasis | บทความโดย : นพ.พรเลิศ ตรีทศเดช | เมื่อ : 17 กุมภาพันธ์ 2558, 11:21:12

Health Tips Recommend

บทความโดย แพนคลินิก | 1669 views